วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วรรณกรรม เรื่องอยู่กับก๋ง

ในวันที่สถานการณ์บ้านเมืองที่วุ่นวายเหลือเกิน ลองหาวรรณกรรมดีๆ หรือ ถ้าไม่ชอบอ่านหนังสือ  ลองดีวีดีละครดีๆ มาดูค่ะ วรรณกรรมดีดีๆ มีแง่คิดดีๆเสมอค่ะ

เรื่องย่ออยู่กับก๋ง
  
                      บ้านสวน พ.ศ.2548 หยก ชาย ชราวัย 60 ปี ประสบความสำเร็จในอาชีพนักเขียนของตน มีผลงานตีพิมพ์มากมาย ทุก วันนี้เขาอาศัยอยู่กับครอบครัวใหญ่ มีลูกหลานมากมาย เมื่อ มองภาพครอบครัวที่อบอุ่นอย่างทุกวันนี้ หยก มักจะย้อนคิดถึงวัยเด็กที่มีเพียงเขาและ ก๋ง ทุกครั้ง

   
ก๋ง ชาย ชราชาวจีนที่อพยพเข้ามาประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลก ก๋งเป็นช่างฝีมือ ประกอบ อาชีพหลักคืองานซ่อมเซรามิค อันเป็นวิชาที่ติดตัวมาจากเมืองจีน ความ คิดอ่านที่กว้างไกลและความเมตตาของก๋ง ทำให้ ก๋งได้รับการนับหน้าถือตาจากผู้คนมากมายในชุมชนห้องแถวที่อาศัยอยู่ ซึ่ง ผลบุญนี้ได้ตกมาถึง หยก เด็กกำพร้าที่ก๋งได้อุปการะไว้ หยก เติบโตอย่างอบอุ่นภายใต้การเลี้ยงดูของก๋ง แต่ เขาก็ยังรู้สึกถึงความไม่สมบูรณ์ของตัวเอง หยก มักสงสัยว่าทำไมตนจึงไม่มีพ่อแม่เหมือนคนอื่น จนวัน หนึ่งหยกได้พบเห็นเด็กกำพร้าที่ถูกเอามาวางทิ้งไว้ หยก จึงได้เข้าใจว่าโลกนี้ยังมีเด็กโชคร้ายอีกหลายคนนัก และเพื่อนเขาบางคนเช่น ป้อม ลูก ชายของ คุณนายทองห่อ กับคุณปลัด ที่แม้จะมีพ่อแม่พร้อมหน้า หาก หยกได้รู้ความจริงว่าภายใต้รอยยิ้มนั้น มีแต่การปั้นหน้าใส่กัน หยกจึงเข้าใจว่า แท้ จริงแล้วการที่เขามีก๋งคอยให้ความรักกับเขาอย่างแท้จริงต่างหากที่ทำให้เขาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แล้ว 
 
    ชุมชน ห้องแถวที่ก๋งและหยกอาศัยอยู่เป็นแหล่งรวมคนจีนมากหน้า เพื่อน บ้านที่สนิทกันอยู่ก็คือ เง็กจู ซึ่ง เป็นที่ยึดติดกับธรรมเนียมจีนอย่างเหนียวแน่น และไม่ค่อยยอมรับความเปลี่ยนแปลง เง็ก จูมีลูกชายคือ เพ้ง และลูกสาวคือ เกียว หลายครั้งที่เง็กจูมีปัญหากับลูก ก๋งจะ เป็นคนคอยแก้ปัญหาให้ทุกครั้ง ไม่ ว่าจะเป็นตอนที่เกียวแหกประเพณีเดิมของผู้หญิงจีน หนีไปเรียนภาคค่ำ หรือ ตอนที่เพ้งรับ นวล ภรรยาคนไทยเข้าบ้าน จนเง็กจูขู่จะฆ่าตัวตาย ก๋ง เป็นคนชี้ทางสว่างให้เง็กจูเห็นและยอมปรับทัศนคติเพื่ออยู่ร่วมกับลูกหลานในโลกปัจจุบันให้ได้ 


   หรือแม้แต่คนไทยบางคนที่ มาเช่าบ้านอยู่ในชุมชนจีนนี้ ก๋งก็ เป็นคนจีนคนเดียวที่ยื่นมือให้ความช่วยเหลือ ขณะที่คนจีนคนอื่นๆ ตั้ง แง่รังเกียจ ไม่ว่าจะเป็น สมพร หญิงสาวผู้โชคร้ายที่หนีออกมาจากซ่องโสเภณี แฉล้ม และไพศาล คู่ผัวเมียที่ทะเยอทะยานในวัตถุจนตกเป็นทาสการพนัน และหาญ กับ จำเรียง หนุ่มสาวที่วิวาห์เหาะมาจากกรุงเทพฯ ชุมชนห้องแถว พ.ศ.2548 หยก กลับ ไปเยี่ยมชุมชนห้องแถวอีกครั้ง เขาเพ่งมองภาพถ่ายขาวดำของงานวันแซยิด ใน ห้องแถวหลังเก่าของตัวเอง เรื่องราวเก่าๆ ยังคงฉายชัดอยู่ในความทรงจำของเขา แม้ ว่าวันนี้ชุมชนห้องแถวจะเปลี่ยนแปลงและเจริญขึ้นมากกว่าวันก่อนแล้วก็ตาม หน้า ห้องแถวห้องหนึ่ง เด็กชายคนหนึ่งนอนอ่านหนังสือให้อากงของตัวเองฟัง หยก นึกถึงภาพตัวเองกับก๋งในวัยเด็ก และยิ้มออกมาเมื่อเห็นชื่อหนังสือ “อยู่ กับก๋ง” บน หน้าปก หยกเหม่อมองท้องฟ้าราวกับจะมองหาก๋ง อยากให้ก๋งได้เห็นว่าวันนี้ เขา ได้ทำตามสัญญาที่เคยให้ไว้กับก๋งแล้ว 

 



ความ คิดที่ได้จาก เรื่อง อยู่กับ ก๋ง
ความยาก จน...กำลังใจของชีวิต

ไม่ต้องอายที่เป็นคนจน แต่ ควรอายที่เป็นคนเลว เพราะความจนความรวยเราเลือกไม่ได้ แต่ความดีความเลว เรา เลือกทำเลือกเว้นได้...ความสุขของคนร่ำรวย คือ การ นั่งเก็บเกี่ยวผลไม้จากงานที่ทำสำเร็จไปแล้วในอดีต แต่คน จนมีความสุขกับการได้เริ่มทำงาน ความจนเป็นนายที่คอยชี้นิ้วบัญชา ความ ดิ้นรนเป็นมือที่คอยผลักดัน ความเพียรเป็นพี่เลี้ยงคอยพยุงมิให้ระทดท้อ เทพเจ้า แห่งความโชคดีไม่เคยเอื้อมมือมาแตะหน้าผากอวยชัยคนที่เกียจคร้าน ก๋ง สอนให้หยกยอมรับความเป็นจริงของชีวิต มีความมั่นใจในตัวเอง...เข้มแข็ง บุกบั่น เพื่อความอยู่รอด หยกเป็นสุขได้ในความขัดสนยากจน และ ไม่เคยท้อแท้

วรรณกรรม เรื่องลูกอีสาน

   ลูกอีสานเป็นนวนิยายที่ได้รับรางวัลนวนิยายดีเด่นของ คณะกรรมการพัฒนาหนังสือ แห่งชาติในปี พ.ศ.2519 และรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งเอเซีย (ซีไรต์) ในปี พ.ศ.2522 มีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนต์และแปลเป็นภาษาต่างประเทศ 3 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ผู้เขียนได้ตีแผ่ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสานได้อย่ างชัดเจนและเจาะลึก ซึ่ง
ทำให้ผู้อ่านได้รู้ถึงความเป็นจริงของชาวอีสานว่ ามีความลำบากยากแค้น เพียงใด การปรับตัวให้อยู่กับธรรมชาติที่แร้นแค้นนั้น เป็นสิ่งเดียวที่ช่วยให้พวกเขามีชีวิตอยู่ได้ แถมท้ายเล่มมีสูตรอาหารรสแซบชวนน้ำลายสอ เช่น แกงอ่อม ต้มส้มงูสิง ลาบนกขุ้ม และภาพสัตว์ต่างๆที่กล่าวถึงในเรื่องอีกด้วย
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอ่านมากๆครับเลยครับ เพิ่นได้รวบรวมความเป็นอยู่ของคนอีสานบ้านเฮา ผ่านชีวิตจริงของเพิ่น สำหรับพี่น้องบ้านเฮา สั่นได้อ่านล่ะสิพากันคิดฮอดบ้านเด่ล่ะผมว่า พงศ์น้อยอ่านไปหลายรอบแล้วครับ ม่วนหลาย หนังสือเพิ่นออกมาโดนแล้วล่ะครับ แต่ว่าผมว่าคงสิยังมีขายกันอยู่ สั่นสนใจกะลองไปหาชื้อมาอ่านกันได้ครับ ร่วมสืบสานศิลปะอีสาน ทุกแขนง
พงศ์น้อย 
ประวัติผู้แต่ง คุณคำพูน บุญทวี เดิมชื่อคูณ
เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2471 ที่ตำบลทรายมูล กิ่งอำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร 
บิดาชื่อ นายสนิท มารดาชื่อนางลุน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากโรงเรียนสายปรีชาบัญฑิต อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
นวนิยายเรื่อง ลูกอีสาน (พ.ศ.2519)ได้รับรางวัลดีเด่น จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติเมื่อ พ.ศ.2519 ต่อมา กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำ หรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ประจำปี พ.ศ.2522 รวมทั้งได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100 หนังสือดีเมื่อ พ.ศ.2542


วรรณกรรม เรื่องใบ้ ผู้ชนะที่แท้จริง

ใบ้  ผู้ชนะที่แท้จริง                                                       
อัศศิริ  ธรรมโชติ

                
      ใบ้ยิ่งวิ่งเข้ามาใกล้  เสียงร้องเรียกก็ยิ่งดัง  พวกเด็กต่างลิงโลด  กระโดดเต้นกันขวักไขว่ 
จนพวกผู้ใหญ่เองต้องส่งเสียงเรียกใบ้และปรบมือกันกราวไปพร้อมกับเด็ก ๆ ด้วย....
             “ฮัลโหล  ฮัลโหล...หนึ่ง  สอง สาม...  เสียงจากเครื่องขยายเสียงตรงเส้นชัยสีแดง
ดังกังวานขึ้น...  โปรดอย่าเข้าใจผิด  นายใบ้ที่กำลังนำหน้ามานั้น  ไม่เกี่ยวกับการวิ่งแข่งมาราธอนครั้งนี้นะครับเนื่องจาก....”    ฯลฯ
              ใบ้วิ่งใกล้เส้นชัยเข้ามาทุกขณะ  แต่คราวนี้เสียงเงียบจนได้ยินเสียงหอบหายใจของใบ้เอง....ผมตื่นเช้ามืดทุกวันเพราะถูกยายบังคับให้ตักบาตร  ถนนริมทะเลหน้าบ้านเมื่อฟ้าสลัวลัวรางจะเห็นพระเดินเรียงกัน... มาแต่ไกล ๆ นั้นคล้ายกับเส้นสายสีเหลืองที่เคลื่อนพลิ้วอยู่ข้างหน้า  ขณะที่ลมอ่อนโยนพัดคลื่นสีน้ำเงินเข้าหาฝั่งสีขาว  แต่ผู้ที่มาก่อนพระจะเป็นกลุ่มคนที่แต่งชุดสีเขียว  พวกเขามากับฝุ่นฟุ้งและเสียงดังเป็นจังหวะ  ทั้งจากรองเท้าที่กระทบพื้นถนนและเสียงเพลงจากปากที่ร้องออกมาพร้อมๆ กันพวกนี้เป็นตำรวจพลร่มจากค่ายฝึกเหนือหมู่บ้าน
              วันนี้ตำรวจพลร่มเคลื่อนผ่านผมไปแล้ว ...  และ เจ้าสายสีเหลือง  ก็ค่อยปรากฏขึ้นตรงหัวโค้งถนน
              “ยาย..  ผมเอะใจร้องบอก   วันนี้พระมาองค์เดียว...
              “ไม่ใช่หรอกอ้ายหนู...ยายโผล่หน้าต่างชั้นบนบอกลงมา นั่นมันใครก็ไม่รู้ วิ่งมาคนเดียว
               เขาวิ่งเข้ามาด้วยเท้าเปล่า  ไม่มีเสียง  นุ่งกางเกงขาสั้นสีเหลืองจีวรพระและเสื้อยืดคอกลมสีเดียวกัน  ได้ยินแต่เสียงหอบหายใจในความสงัดยามเช้ามืด
               “ใบ้ !.... ผมทักเขาเมื่อเห็นตัวแจ่มชัดแล้ว... ใบ้จะวิ่งไปไหนน่ะ
              ใบ้ไม่ยอมหยุด โบกหยุดไหว ๆวิ่งผ่านหน้าผมไป  ยิ้มเห็นปากแห้ง ฟันขาว แววตาเลิ่กลั่ก  พลางก็ใช้เสียงแบะ แบะ เหมือนอย่างที่เคยได้ยิน
               “อ้ายใบ้มันซ้อมวิ่งน่ะลูก  ยายบอกพร้อมหัวเราะอย่างเห็นขัน  ก่อนจะหันกลับเข้าบ้านไป                      
              ใบ้เป็นหนุ่มร่างล่ำสัน  ผิวเผือกเป็นฝรั่ง  ผมหยิกหยอยก็ออกสีแดงดำราวกับเปลือกไม้ย้อม  ความผิดปกติของเขาเป็นมาแต่เกิด  ลิ้นไก่สั้น  หูค่อนข้างหนวก  ต้องพูดตรงหน้าถึงได้ยิน  ใบ้ฟังคนพูดรู้เรื่องแต่ต้องทำมือไม้ประกอบ  คนคุยด้วยต้องจับคำที่เขาเปล่งออกมาสั้น ๆ และตะกุกตะกัก  ลิ้นพันรัว  เสียงอ้อแอ้ติดอยู่ในลำคอลึก  เวลาอารมณ์ดีจะยิ้มและให้เสียงแบะ แบะ เป็นการทักทายคนคุ้ยเคย  แต่ถ้าเขานั่งนิ่งเฉย  คนแปลกหน้าจะไม่รู้ว่าเขาเป็นคนพิการ
              ชีวิตของใบ้   สำหรับเด็ก ๆ อย่างผม  คล้ายกับเสียงคลื่นขับกล่อมและเป็นเหมือน   ของเล่น  เพื่อความสนุกเพลิดเพลินและสร้างเสียงหัวเราะ
             “แบะ  แบะ เสียงเด็ก ๆ ล้อเลียน ใบ้ได้ยินก็จะย่อตัวตั้งท่าวิ่งไล่กวด  เดี๋ยว-เคก-หัว-เลย...  ใบ้ว่าพร้อมกับงอมือเตรียมพร้อมครั้นได้เห็นเด็กๆ แตกฝูงวิ่งหน้าตั้งกันไปก่อน  เขากลับยืนหัวเราะเฉย  หรือถ้าหากว่าเขาออกไล่กวดไปจริง ๆ เด็กสักคนวิ่งหนีเกิดหกล้มร้องไห้  เขาก็จะเข้าไปอุ้มปลอบด้วยเสียงอ้อแอ้  พวกเรารู้ว่าใบ้เป็นคนใจดี  จึงย่ามใจล้อเขาบ่อย  เรียกเขาว่า ตาใบ้บ้าง  อ้ายใบ้บ้าง  บางทีก็ใบ้เฉย ๆ แต่เขาไม่เคยโกรธสักครั้ง  ถ้าอารมณ์ไม่ดีเขาก็จะไม่เล่นด้วย  เดินหนีไปเสียที่อื่น
              พวกเรา-เด็ก ๆ รู้สึกว่าใบ้เป็น  ของเรา ในหมู่บ้านริมทะเลเล็ก ๆ แห่งนี้  ใบ้เหมือนน้ำเค็ม  เม็ดทราย เหมือนกับว่าวสีสวย  และเหมือนกับผีเสื้อ  แมงทับ  ที่เราจับมาเล่นกันยายนุ่น  ผู้เป็นแม่ของใบ้บ่นกับยายของผมในวันหนึ่ง  ได้ยินว่า.... 
              “โฮ้ย...อ้ายใบ้ของข้าน่ะ  มันอยากจะเป็นทุกอย่างแหละ  เห็นเขาชกมวยกัน  มันก็ไปซ้อมกับเค้าด้วย  หน้าตาบวมกลับมา  ก็มันใบ้บ้ายังงั้น  จะไปสู้ใครเค้าได้  เห็นเขาบวชพระมันก็อยาก
จะบวช  เห็นเพื่อนเป็นทหารมันก็อยากจะเป็น  ตอนเค้ารับสมัครตำรวจพลร่ม  มันก็จะตามไปสมัครกับเค้าด้วย  ข้าต้องบอกว่า  ใบ้เอ๊ย  คนอ่านหนังสือไม่ออกเค้าไม่เอาหรอก  แต่มันดื้อนะ  ดื้ออย่าบอกใครอ้ายนี่  เฮ้อ...!  เวรกรรมชาติก่อนมันคงมากอยู่...  ยายนุ่นส่ายหัว
              “ตอนนี้เห็นวิ่งตามพวกตำรวจพลร่มอยู่ทุกเช้า ใส่ชุดเหลืองยังกะพระออกบิณฑบาตแน่ะ  ยายผมบอก
               “มันไปเอาของใครมาใส่ไม่รู้  บอกข้าว่าจะวิ่งแข่งงานปีใหม่ข้ารู้ว่ามันไปสมัครมาแล้วถูกเค้าไล่กลับมา  คงเห็นมันใบ้บ้า  ไม่เอามัน  แต่ก็ยังซ้อมอยู่ทุกวัน  บอกแล้วไม่รู้เรื่อง  ปล่อยให้มันวิ่งของมันไปคนเดียว  ยายนุ่นว่าแล้วอดหัวเราะไม่ได้  อ้ายนี่แรงมันมากมันมีแต่กำลัง ในใจจริงแล้วใบ้อยากจะทำอะไร เป็นอะไร  ไม่มีใครใส่ใจถือสานอกจากจะเห็นเป็นของขำ  ใบ้ไม่เคยร้ายต่อใคร  สำหรับพวกผู้ใหญ่ในหมู่บ้านนี้เขาเป็นคนที่ทั้งน่าสงสารและทั้งน่าขัน  เป็นคนมีกำลังที่เรือหาปลาทุกลำอยากจะได้  แต่ใบ้ก็ไม่เคยทำอะไรจริงจัง  นอกจากจะตกเบ็ดและหาปลามาให้ยายนุ่นผู้เป็นแม่ขายในตลาดเป็นบางครั้ง  ติดเรือเร่ออกทะเลเป็นบางเที่ยว  แล้วก็กลับมาอยู่กับบ้าน  และอยู่ไปวัน ๆ โดยไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อใคร  ความแข็งแรงของใบ้เป็นที่เลื่องลือรู้ดีกันในครั้งหนึ่งว่า  เย็นวันหนึ่ง  เขาพายเรือเล่นตาม
ชายฝั่ง  ลมเกิดเปลี่ยนทิศเป็นพายุพัดเรือเขาออกไปไกลลึก  ลับหายไปกับขอบฟ้า  และลมฝนจู่โจมคืนหนึ่งเต็ม ๆ ที่ยายนุ่นร่ำไห้  จนเช้าวันต่อมา  คนในหมู่บ้านถึงได้เห็นเขาจ้ำพายพาเรือกลับมาอย่างปลอดภัย  คืนนั้นทั้งคืนที่ใบ้ต้องพายเรือต้านแรงลมอยู่โดยไม่ได้หลับนอน
               ครั้งนั้นพวกเรา-เด็ก ๆ นึกว่าใบ้ตายแล้ว  จึงดีใจแหนแห่ไปต้อนรับเขาเกรียวกราวเขาก็ยิ้มเห็นปากแห้ง  ฟันขาว  แววตาเลิกลั่กพลางก็ให้เสียงแบะ แบะ เหมือนอย่างที่เคยได้ยิน
               ความรู้สึกว่าใบ้เป็น ของเรา นี่เอง  ที่ทำให้ผม  เพื่อน ๆ และเด็กเกือบทั้งหมู่บ้านพากันส่งเสียงเอาใจช่วยเขาเกือบเป็นเสียงเดียวกันในวันที่เขาวิ่งแข่ง
               วันขึ้นปีใหม่ ทางอำเภอได้จัดให้มีการแข่งวิ่งทนเป็นระยะทางยาวรวมสิบกิโลเมตร  มีผู้เข้าแข่งขันมากมาย  แต่ที่วิ่งเท้าเปล่า ไม่มีเสียง นุ่งกางเกงขาสั้นสีเหลืองจีวรพระ  และเสื้อยืดคอกลมสีเดียวกันนั้นนำหน้าทิ้งกลุ่มมาไกลห่าง....พวกเรา-เด็ก ๆ ต่างกระโดดตัวลอยส่งเสียงเรียกใบ้กันขรมทีเดียว
                 “ฉิบหายแล้วโว้ย !  อ้ายใบ้มันนำมานี่หว่า   เสียงผู้ใหญ่ยืนข้าง ๆ ผมพูดขึ้น
                 “นั่นน่ะซี....เฮ้ย ! มันแข่งด้วยหรือวะ  ก็ไหนว่ากรรมการเขาไม่รับสมัครมันไงล่ะ
ผู้ใหญ่อีกคนหนึ่งว่า  ใบ้ยิ่งวิ่งเข้ามาใกล้  เสียงร้องเรียกก็ยิ่งดัง  พวกเด็กต่างลิงโลดกระโดดเต้นกัน
ขวักไขว่  จนพวกผู้ใหญ่เองต้องส่งเสียงเรียกใบ้และปรบมือกันกราวไปพร้อมกับเด็ก ๆ ด้วย
                  “ฮัลโหล  ฮัลโหล....หนึ่ง  สอง  สาม....  เสียงจากเครื่องขยายเสียงตรงเส้นชัยสี
แดงดังกังวานขึ้น  โปรดอย่าเข้าใจผิด  นายใบ้ที่กำลังนำหน้ามานั้น  ไม่เกี่ยวกับการวิ่งแข่งมาราธอนครั้งนี้นะครับ  เนื่องจากนายใบ้ขาดคุณสมบัติบางอย่าง  กรรมการไม่ได้รับสมัครและไม่มีรายชื่ออยู่ในผู้เข้าแข่ง...ฮัลโหล  ฮัลโหล...ทางคณะกรรมการไม่สามารถจะห้ามนายใบ้ได้  แม้จะชี้แจงแล้ว  นายใบ้ก็ยังออกวิ่งตามมาด้วย  การชนะของนายใบ้ถือเป็นโมฆะนะครับ....
                 ใบ้วิ่งใกล้เส้นชัยเข้ามาทุกขณะ  แต่คราวนี้เสียงเงียบจนได้ยินเสียงหอบหายใจของใบ้เอง
               “ฮัลโหล  ฮัลโหล....หนึ่ง  สอง  สาม...  เสียงจากเครื่องขยายดังขึ้นอีก... พ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย ผู้ชนะที่แท้จริงนั้นได้แก่เบอร์ยี่สิบที่วิ่งตามหลังนายใบ้มา...
                คราวนี้เสียงโห่ดังขึ้นทั้งสองฟากถนน  เป็นเสียงทั้งจากผู้ใหญ่  เด็ก  และเมื่อใบ้ถึงเส้นชัย  หลายคนก็เข้าไปรุมล้อมแสดงความยินดีต่อเขาโดยไม่ยอมใส่ใจเสียงจากเครื่องขยายนั้นเลย  ซึ่งก็ได้แต่ส่งเสียงฮัลโหล  ฮัลโหล....หนึ่ง  สอง  สาม...  อย่างขาดคนสนใจฟัง
                   เมื่อนายอำเภอได้มอบถ้วยที่เหมือนกับเครื่องหมายยาทาแก้พิษ  แมลงตะขาบกัดต่อยให้กับผู้ชนะหมายเลขยี่สิบที่วิ่งตามหลังใบ้มานั้นใบ้ยืนหลบอยู่กลางวงล้อมของเด็ก ๆ  ในขณะที่ผู้ใหญ่หลายคนเริ่มเห็นเป็นเรื่องตลก  ครั้นแล้วเสียงปรบมือเปาะแปะก็กลับเงียบกริบลงเมื่อผู้ชนะหมายเลขยี่สิบเดินถือถ้วยใบโตมาส่งต่อให้ใบ้  พลางก็ชูมือใบ้ขึ้นท่ามกลางเสียงโห่ร้องราวกับเสียงคลื่นทะเลเมื่อยามหน้ามรสุม
             เด็ก ๆ ตีลังกาด้วยความดีใจก่อนเข้ามารุมล้อมใบ้  เรียกชื่อเขาอีกครั้ง  ขณะที่ใบ้ยิ้มเห็นปากแห้ง  ฟันขาว  และแววตาเลิ่กลั่ก  พลางก็ให้เสียงแบะ แบะ เหมือนที่เคยได้ยิน  
             ผมเห็นร่างของเขาไหวเป็น  เส้นสายสีเหลือง เคลื่อนพลิ้วอยู่ในฝูงคน


ที่มา  อัศศิริ  ธรรมโชติ รวมเรื่องสั้นของนักเขียนซีไรท์  งามแสงเดือน  กรุงเทพมหานคร : มิ่งมิตร,
           2543

ประเทศในตะวันออกกลาง






-บาห์เรน เมืองหลวงคือ มานามา
-อียิปต์ เมืองหลวงคือ ไคโร 
-อิหร่าน เมืองหลวงคือ เตหะราน 
-ตุรกี เมืองหลวงคือ อังการา 
-อิรัก เมืองหลวงคือ แบกแดด
-อิสราเอล เมืองหลวงคือ เยรูซาเล็ม
-จอร์แดน เมืองหลวงคือ อัมมาน
-คูเวต เมืองหลวงคือ คูเวตซิตี้
-เลบานอน เมืองหลวงคือ เบรุต
-โอมาน เมืองหลวงคือ มัสกัต
-กาตาร์ เมืองหลวงคือ โดฮา
-ซาอุดีอาระเบีย เมืองหลวงคือ ริยาด 
-ซีเรีย เมืองหลวงคือ ดามัสกัส 
-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมืองหลวงคือ อาบูดาบี 
-เยเมน เมืองหลวงคือ ซานา
-และดินแดนปาเลสไตน์ (เวสต์แบงก์และฉนวนกาซา)

รางวัลโนเบล



รางวัลโนเบล (สวีเดน: Nobelpriset; อังกฤษ: Nobel Prize) เป็นรางวัลประจำปีระดับนานาชาติ ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการสแกนดิเนเวีย พิจารณาผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่น หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ตามเจตจำนงของอัลเฟรด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ไดนาไมท์ โดยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1895 แต่การมอบรางวัลในสาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ สาขาวรรณกรรม และสาขาสันติภาพ เริ่มมอบรางวัลครั้งแรกในปี ค.ศ. 1901
การมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจัดขึ้นที่เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ส่วนสาขาอื่นๆ จัดที่เมืองสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในแต่ละสาขานั้นถือว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดในสาขาวิชาชีพนั้นๆ[1]
การมอบรางวัลโนเบลจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 10 ธันวาคม โดยผู้พระราชทานคือ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรสวีเดน ถึงแม้ว่าบางปีรางวัลบางสาขาอาจไม่มีการตัดสิน แต่มีข้อกำหนดว่าระยะการเว้นการมอบรางวัลต้องไม่เกิน 5 ปี สำหรับผู้ได้รับรางวัลจะได้รับเหรียญรางวัลโนเบล ใบประกาศเกียรติคุณ เงินรางวัลประมาณ 10 ล้านโคร์นหรือประมาณ 44 ล้านบาท

รางวัลซีไรต์


 

             ซีไรต์ หรือชื่อเดิมในภาษาไทยคือ "รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่ง
อาเซียน(S.E.A.WRITE AWARD) ซึ่งย่อมาจากคำว่า The South East Writer Award เส้นทางซีไรต์ จุดเริ่มต้นของรางวัลซีไรต์ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 จัดโดยโรงแรมโอเรียลเต็ล การบินไทย และบริษัทในเครืออิตัลไทยโดยมีศาสตราจารย์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงเป็น
ประธาน และได้รับความร่วมมือจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยและสมาคมภาษาและ หนังสือ
แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อให้เป็นที่รู้จักถึงความสามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน
2. เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่งกลุ่ม ประเทศอาเซียน
3. เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริมและจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะทางวรรณกรรมของนักเขียนผู้ สร้างสรรค์
4. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไปในกลุ่มประ เทศอาเซียน
                ประเทศที่เข้าร่วมตอนแรกมีทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ และไทย จนกระทั้ง พ.ศ.2529 เพิ่มประเทศบรูไนเข้ามาเป็น 6 ประเทศ
จากนั้นในปี 2539 ประเทศเวียดนามก็เข้าร่วม รวมเป็น 7 ประเทศ จนมาถึงปี 2541 ซึ่งเป็นปี
ครบรอบ "20 ปีซีไรต์"ผู้จัดได้เชิญพม่าและลาวเข้าร่วมด้วย จึงครบทั้ง 9 ประเทศในกลุ่มอาเซียน
(ขณะนั้น)ต่อมาปี 2542หลังจากประเทศกัมพูชาได้รับการรับรองเข้า เป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ
อาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมาจึงได้รับเชิญให้เข้าร่วม ด้วยก็เป็นอันว่าซีไรต์ปีนี้มี
ครบทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคนี้ส่วนคณะกรรมการดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2522 ศาสตราจารย์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงรับเป็นประธาน ภายหลังพระองค์ท่าน
สิ้นชีพตักษัย ในปี 2524 หม่อนเจ้างามจิตร บุรฉัตรผู้เป็นชายา ได้ ดำรงตำแหน่งประธานสืบแทน
จนถึงอนิจกรรม ในปี 2526 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระกนิษฐาพระองค์เจ้าเปรม
บุรฉัตร ทรงรับเป็นองค์ประธานสืบต่อมาจนถึง พ.ศ. 2534 
 พ.ศ. 2535 - 2540 ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เป็นประธาน จากนั้นในปี 2541 ม.ล.
พีระพงศ์ เกษมศรี เข้ารับช่วงเพียงปีเดียวก็ลาออก และ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เข้ารับตำแหน่งแทนในที่สุดรางวัลวรรณกรรม ซึ่งเป็นผลงานของผู้เขียนได้จัดส่งเข้าร่วม
ประกวดรางวัลซีไรต์ โดยมีคณะกรรมการในการคัดเลือกและตัดสินประกอบด้วยผู้แทนจาก
สมาคมภาษาและหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทยฯ ผู้แทนจากสมาคมนักเขียนฯ และผู้ทรงคุณ
วุฒิทางวรรณกรรม โดยมีกติกาดังนี้ คือ
1.
ต้องเป็นงานที่ริเริ่มของผู้เขียนเอง ไม่ใช่แปลมาจากผู้อื่น 
2. ต้องเป็นงานที่สัมพันธ์กับชาติหรือภูมิภาคที่ผู้สร้างสรรค์มีภูมิลำเนา 
 3. ต้องเป็นเรื่องแต่งหรือเรื่องสร้างสรรค์ในรูปแบบใดก็ได้อันหมายถึง นวนิยาย บทละคร และกวีนิพนธ์
  4.
ต้องเป็นงานที่ดีพร้อมในช่วงเวลา 5 ปี นับจากที่ทางการเลือกสรรเป็นเกณฑ์
  5.
ผลงานเคยได้รับรางวัลใด ๆ ก็ได้ที่ใช้ในขอบเขตประเทศตน
  6.
ผลงานจะเขียนเป็นภาษาใดก็ได้ที่ใช้ในขอบเขตประเทศตน
  7.
ผู้สร้างสรรค์มีส่วนช่วยหรือช่วยพัฒนาวัฒธรรมและวรรณกรรมของประเทศตน
จากงานเขียน ของตน
  8.
ผู้สร้างสรรค์จะมีเชื้อชาติศาสนา เพศใด ๆ ก็ได้ และยังมีชีวิตอยู่ขณะส่งงาน
เข้าประกวด