วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รางวัลซีไรต์


 

             ซีไรต์ หรือชื่อเดิมในภาษาไทยคือ "รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่ง
อาเซียน(S.E.A.WRITE AWARD) ซึ่งย่อมาจากคำว่า The South East Writer Award เส้นทางซีไรต์ จุดเริ่มต้นของรางวัลซีไรต์ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 จัดโดยโรงแรมโอเรียลเต็ล การบินไทย และบริษัทในเครืออิตัลไทยโดยมีศาสตราจารย์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงเป็น
ประธาน และได้รับความร่วมมือจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยและสมาคมภาษาและ หนังสือ
แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อให้เป็นที่รู้จักถึงความสามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน
2. เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่งกลุ่ม ประเทศอาเซียน
3. เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริมและจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะทางวรรณกรรมของนักเขียนผู้ สร้างสรรค์
4. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไปในกลุ่มประ เทศอาเซียน
                ประเทศที่เข้าร่วมตอนแรกมีทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ และไทย จนกระทั้ง พ.ศ.2529 เพิ่มประเทศบรูไนเข้ามาเป็น 6 ประเทศ
จากนั้นในปี 2539 ประเทศเวียดนามก็เข้าร่วม รวมเป็น 7 ประเทศ จนมาถึงปี 2541 ซึ่งเป็นปี
ครบรอบ "20 ปีซีไรต์"ผู้จัดได้เชิญพม่าและลาวเข้าร่วมด้วย จึงครบทั้ง 9 ประเทศในกลุ่มอาเซียน
(ขณะนั้น)ต่อมาปี 2542หลังจากประเทศกัมพูชาได้รับการรับรองเข้า เป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ
อาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมาจึงได้รับเชิญให้เข้าร่วม ด้วยก็เป็นอันว่าซีไรต์ปีนี้มี
ครบทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคนี้ส่วนคณะกรรมการดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2522 ศาสตราจารย์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงรับเป็นประธาน ภายหลังพระองค์ท่าน
สิ้นชีพตักษัย ในปี 2524 หม่อนเจ้างามจิตร บุรฉัตรผู้เป็นชายา ได้ ดำรงตำแหน่งประธานสืบแทน
จนถึงอนิจกรรม ในปี 2526 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระกนิษฐาพระองค์เจ้าเปรม
บุรฉัตร ทรงรับเป็นองค์ประธานสืบต่อมาจนถึง พ.ศ. 2534 
 พ.ศ. 2535 - 2540 ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เป็นประธาน จากนั้นในปี 2541 ม.ล.
พีระพงศ์ เกษมศรี เข้ารับช่วงเพียงปีเดียวก็ลาออก และ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เข้ารับตำแหน่งแทนในที่สุดรางวัลวรรณกรรม ซึ่งเป็นผลงานของผู้เขียนได้จัดส่งเข้าร่วม
ประกวดรางวัลซีไรต์ โดยมีคณะกรรมการในการคัดเลือกและตัดสินประกอบด้วยผู้แทนจาก
สมาคมภาษาและหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทยฯ ผู้แทนจากสมาคมนักเขียนฯ และผู้ทรงคุณ
วุฒิทางวรรณกรรม โดยมีกติกาดังนี้ คือ
1.
ต้องเป็นงานที่ริเริ่มของผู้เขียนเอง ไม่ใช่แปลมาจากผู้อื่น 
2. ต้องเป็นงานที่สัมพันธ์กับชาติหรือภูมิภาคที่ผู้สร้างสรรค์มีภูมิลำเนา 
 3. ต้องเป็นเรื่องแต่งหรือเรื่องสร้างสรรค์ในรูปแบบใดก็ได้อันหมายถึง นวนิยาย บทละคร และกวีนิพนธ์
  4.
ต้องเป็นงานที่ดีพร้อมในช่วงเวลา 5 ปี นับจากที่ทางการเลือกสรรเป็นเกณฑ์
  5.
ผลงานเคยได้รับรางวัลใด ๆ ก็ได้ที่ใช้ในขอบเขตประเทศตน
  6.
ผลงานจะเขียนเป็นภาษาใดก็ได้ที่ใช้ในขอบเขตประเทศตน
  7.
ผู้สร้างสรรค์มีส่วนช่วยหรือช่วยพัฒนาวัฒธรรมและวรรณกรรมของประเทศตน
จากงานเขียน ของตน
  8.
ผู้สร้างสรรค์จะมีเชื้อชาติศาสนา เพศใด ๆ ก็ได้ และยังมีชีวิตอยู่ขณะส่งงาน
เข้าประกวด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น